ข้อควรรู้ก่อนที่จะเลือกซื้อฮีทเตอร์

choose heater

ในการเลือกซื้อฮีทเตอร์ลูกค้าควรพึงระวังในการเลือกซื้อฮีทเตอร์ โปรดพิจจารณาข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ลวดฮีตเตอร์
ต.ย. รูปลวดฮีตเตอร์
  1. ลวดฮีตเตอร์ หรือลวดความต้านทาน ควรเลือกลวดฮีตเตอร์ ที่มีความเหมาะสมกับงานที่ลูกค้าทำอยู่ ควรพิจารณา วัตถุดิบที่นำมาทำฮีทเตอร์ต้องมีคุณภาพวัตถุดิบ ที่จะนำมาอธิบาย คือ ไม่ควรพิจารณาซื้อฮีทเตอร์ที่มีวัตถุดิบคุณภาพดีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจจารณาความเหมาะสมกับงานที่ใช้ หรือ สิ่งแวดล้อมด้วยจึงจะสามารถใช้ฮีทเตอร์ได้นาน เช่น การเลือกใช้ลวดฮีทเตอร์ที่ดี และมีราคาแพงกับงานที่ง่ายต่อการเกิดออกซิเดชั่นต้องพิจจารณาลวดที่เหมาะสมที่จะไม่เกิดการออกซิเดชั่น เพราะเมื่อเกิดออกซิเดชั่นบนผิวลวดฮทเตอร์แล้วจะทำให้ลวดฮีทเตอร์ใช้งานได้ไม่ทนสู้ใช้ลวดที่เหมาะกับงานที่เกิดออกซิเดชั่นง่าย และ ราคาถูกกว่า แต่ใช้ได้ทนกว่า เป็นต้น
    • อุณภูมิที่ใช้งานจริง และ อุณภูมิที่ลวดฮีทเตอร์ละลายจนขาด (Melting Point)
    • สิ่งแวดล้อมในขณะใช้งานของฮีทเตอร์ เช่น บริเวณที่เกิดออกซิเดชั่นง่าย อุณภูมิ และ การระบายความร้อนจากฮีทเตอร์ ความชื้น ฯลฯ
    • ส่วนผสมของวัตุดิบที่นำมาทำลวดฮีทเตอร์ ลวดฮีทเตอร์มักเป็นโลหะผสมตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เช่น นิเกิล โคเมี่ยม เหล็ก อลูมิเนี่ยม เป็นต้น ลวดฮีทเตอร์ที่นิยมใช้ทั่วไปมีสองรูปแบบ (Form)
      • ลวดกลมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดฮีทเตอร์ ตั้งแต่ขนาด 0.01-12 มม. (0.00039-0.472 นิ้ว)
      • ลวดฮีทเตอร์แบน ความหนา 0.023-0.8 มม. (0.0009-0.031 นิ้ว) ความกว้างของลวดฮีทเตอร์แบน 0.038-4 มม. (0.0015-0.157 นิ้ว)
      • อัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความหนาของลวดแบนไม่เกิน 40 เท่า
  2. ชนิดของลวดฮีทเตอร์ โดยพิจจารณาแบ่งตามส่วผสมของโลหะที่มาทำฮีทเตอร์ ลวดฮีทเตอร์มักจะมีอีกชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าลวดนิโครม ( Nichrome Wire ) ทั้งนี้เพราะลวดฮีทเตอร์ มักจะมีส่วนผสมของนิเกิ้ล โครเมี่ยม เป็นส่วนประกอบหลักแม้ว่าลวดฮีทเตอร์บางชนิดอาจจะใส่เหล็กและ หรือ อลูมิเนี่ยมเข้าไปด้วยเพื่อประหยัดต้นทุน

ตัวอย่างของลวดฮีทเตอร์ หรือ ลวดความต้านทานที่บริษัท สุพรีมไลน์ นำมาใช้ทำฮีทเตอร์แบบต่างๆ (Resistance Wire)

  1. Nikrothal เป็นลวดที่มีส่วนผสมของนิเกิ้ล 80% โคมเมี่ยม 20% เหมาะสำหรับเอาไปใช้งานทั่วๆไป สามารถทนอุณภูมิได้ถึง 1200°C (2192°F ) โดยมีอุณภูมิหลอมเหลว 1400°C ทนแรงดึง (Tensile Strength ) ได้ถึง 810 Mpa และลวดสามารถยืดได้ถึง 30% จึงเหมาะสำหรับใช้ในการพัน ลวดเป็นรูปร่างคอยด์ เช่น ใช้ในลวดฮีทเตอร์แท่ง ( Catridg Heater ) เพราะลวดมีความนิ่มจึง เหมาะสำหรับการพันโดยไม่มีความเสียหายและลวดมีคุณสมบัติความต้านทานไม่ให้เกิดปฎิกิรียา ( Good Oxidation Resisance ) ในเนื้อลวด แต่เนื่องจากลวดมีราคาแพงผู้ผลิตที่อยากได้กำไรมากๆ ไม่นิยมใช้
  2. Nikrothal TE เป็นลวดความต้านทานซึ่งมีนิเกิ้ลอยู่ประมาณ 70% โคเมี่ยม 20% (เหล็ก FE10%) ใช้งานทนอุณภูมิได้ 1200°C ลวดชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในฮีทเตอร์ท่อ ( Tubolar Heater ) โดยเฉพาะ