• Home
  • เทอร์โมคัปเปิล

ฮีตเตอร์และเทอร์โมคับเปิ้ล (Heater and Thermocouple, pt100)

ฮีตเตอร์คืออุปกรณ์ที่ให้กำเนิดความร้อนโดยแปลงมากจากพลังงานไฟฟ้า

เทอร์โมคับเปิ้ล (Thermocouple) และ pt100 อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับฮีตเตอร์และเทอร์โมคัปเปิล

    1. เทอร์โมเวลล์ (Thermo well)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันไม่ให้สิ่งที่ต้องการวัดสัมผัสเครื่องมือวัด (Instrument) โดยตรง โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้ตัวเทอร์โมคัปเปิล (thermocouple) หรืออาร์ทีดี (RTD) และป้องกันการเสียหายของตัวเครื่องมือวัดจากสภาวะการใช้งาน เช่นการกัดกร่อนจากสารเคมี หรือการแผ่รังสีจากแหล่งกำเนิดความร้อนของระบบซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สารประกอบในตัวเครื่องมือวัดเกิดการเปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปติดตั้งเทอร์โมคัปเปิลและอาร์ทีดีไว้ในเทอร์โมเวลล์เมื่อต้องการใช้งานภายใต้ความดันสูง (สูงกว่า 3 เท่าของความดันบรรยากาศ) เช่น การวัดอุณหภูมิของไอน้ำความดันสูงภายในท่อ หรือในหม้อไอน้ำ (boiler) หรือในหม้อฆ่าเชื้อ (retort) เป็นต้น

วัสดุที่ใช้ทำเทอร์โมเวลล์มีหลายชนิดได้แก่เซรามิกเหมาะสำหรับการใช้งานในสภาวะอุณหภูมิสูงและในงานที่มีสภาพการกัดกร่อนส่วนสแตนเลสเป็นวัสดุที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากมีข้อดีหลายประการได้แก่ใช้ในสภาวะแวดล้อมที่กัดกร่อนได้ใช้ในงานที่มีอุณหภูมิสูงและเย็นจัดได้มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับมวลและเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสะอาดสูง เช่น ในกระบวนการฆ่าเชื้อเนื่องจากไม่ปนเปื้อนและไม่ทำปฏิกิริยา

Thermowell
รูปเทอร์โมเวลล์ (Thermo well)
    1. เทมเปอร์เรเจอร์ ทรานสมิตเตอร์ (Temperature Transmitter)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตที่ได้จากทรานสดิวเซอร์ให้เป็นสัญญาณมาตรฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่สัญญาณนิวแมติกส์และสัญญาณทางไฟฟ้า 

      • สัญญาณนิวแมติกส์ (pneumatics signal) เป็นสัญญาณมาตรฐานที่อยู่ในรูปของความดันลมใช้ความดันของลมในการควบคุมกระบวนการ ตัวอย่างสัญญาณมาตรฐานชนิดนิวแมติกส์ได้แก่ 3-15 psi (BS) 0.2-1 bar (SI) และ 0.2-1 kg/cm2 (Metric)
      • สัญญาณทางไฟฟ้า (electrical signal) เป็นสัญญาณมาตรฐานที่อยู่ในรูปของแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ แรงดันไฟฟ้า 1-5 V กระแสไฟฟ้า 4-20 mA และ แรงดันไฟฟ้า 0-10 V กระแสไฟฟ้า 0-100 mAในทางปฏิบัตินิยมออกแบบทรานสมิตเตอร์หรือตัวแปลงสัญญาณให้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องมือวัด (instrument)
TemperatureTransmitter
รูปทรานสมิตเตอร์ (Transmitter)
    1. เครื่องควบคุมอุณภูมิและเครื่องบันทึกอุณหภูมิ (temperature controller and temperature data logger thermocouple)

เครื่องควบคุมอุณหภูมิเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าอุณหภูมิที่กำหนดไว้โดยจะนำมาใช้ในการสั่งการให้กับอุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความเย็น ทำงาน ตามที่ได้ตั้งค่าอุณหภูมิไว้การนำมาใช้งานและการควบคุมก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิก็จะมีส่วนที่รับอุณหภูมิ (input) จากหัววัดอุณหภูมิหรือที่เรียกกันว่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแล้วมาแสดงผลที่หน้าจอ Display พร้อมกับควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ได้กำหนดไว้หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ก็จะมีในส่วนของการสั่งงาน (output) สั่งงานให้อุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความเย็นทำงานให้ได้ตามค่าที่กำหนดไว้

temperature-controller
รูป เครื่องควบคุมอุณภูมิ (temperature controller)
    1. เทอร์โมสแตท (Thermostat)

ตัวควบคุมอุณหภูมิขอบระบบการทำความเย็นและการปรับอากาศ เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า เทอร์โมสตัท (Thermostat) เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงจะทำให้มีคามดันในตัวกระเปาะ (Thermobulb) ไปดันให้คอนแทคไฟฟ้าเปิด/ปิด ตัวควบคุมอุณหภูมินี้เราแบ่งตามหลักการทำงานออกเป็นชนิดโลหะสองชนิดกับชนิดความดันไอ (Vapor Pressure Type)   นอกจากชนิดดังกล่าวแล้วยังมีชนิดที่ทำงานด้วยความต้านทานทางไฟฟ้า (Electric Resistance Type) โดยใช้ตัต้านทาน (Rrsitor) เช่นเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) และตัวความต้านทานแบบแพลทินัม (Platinum Resistor Elemeht) เป็นตัววัดอุณหภูมิภายนอก โดยอาศัยหลักของการเปลี่ยนแปลงค่าของความต้านทานและชนิดเทอร์ดมคัปเปิล (Thermocuple) ซึ่งเมื่ออุณหภูมิที่ขั้วเปลี่ยนแปลงจะทำให้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเกิดขึ้น

Thermostat
รูปเทอร์โมสแตท (Thermostat)
    1. เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer)

เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) คือเครื่องมือสำหรับวัดระดับความร้อน เมื่อได้รับความร้อนและหดตัวเมื่อคายความร้อนของเหลวที่ใช้บรรจุในกระเปาะแก้วของเทอร์มอมิเตอร์ คือปรอทหรือแอลกอฮอล์ที่ผสมกับสีแดงเมื่อแอลกอฮอล์หรือปรอทได้รับความร้อน จะขยายตัวขึ้นไปตามหลอดแก้วเล็กๆเหนือกระเปาะแก้ว และจะหดตัวลงไปอยู่ในกระเปาะตามเดิมถ้าอุณหภูมิลดลง

สาเหตุที่ใช้แอลกอฮอล์หรือปรอทบรรจุลงในเทอร์มอมิเตอร์เพราะของเหลวทั้งสองนี้ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และไม่เกาะผิวของหลอดแก้วแต่ถ้าเป็นของเหลวชนิดอื่น เช่นน้ำจะเกาะผิวหลอดแก้ว เมื่อขยายตัวหรือหดตัวจะติดค้างอยู่ในหลอดแก้วไม่ยอมกลับมาที่กระเปาะ

thermometer
รูปเทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer)

เทอร์โมคัปเปิล และ pt100 (Thermocouple and pt100)

      1. เทอร์โมคัปเปิล(Thermocouple) คือะไร? เอาไว้ใช้ทำอะไร?

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) คืออุปกรณ์ใช้วัดอุณหภูมิโดยต้องมีตัวแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้า () เป็นค่าอุณหภูมิ c อีกที ตัวแปลนี้มักจะเป็น เครื่องควบคุมอุณหภูมิเป็นต้น

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) มักจะใช้งานร่วมกับฮีตเตอร์ โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิเป็นตัวกลาง

      1. ประวัติและหลักการทำงานของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) เป็นอย่างไร?

นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อthomas Johann Seebeck ค้นพบว่านำลวดโลหะ 2 ชนิด ต่างชนิดกัน เมื่อปลายลวดโลหะหรือโลหะผสม 2 ชิ้นที่ไม่เหมือนกันเชื่อมติดกัน ถ้าอุณหภูมิที่ปลายลวดด้านที่เชื่อมกัน แตกต่างกับปลายลวดด้านที่เหลือ จะเกิดความต่างศักดิ์ ดังรูปด้านใต้

Thermocouple1

จะมีความต่างศักย์ (millivolt) เกิดระหว่างลวดปลายที่ว่างทั้ง 2 เส้น เสมอและถ้าเปลวไฟมีอุณหภูมิเท่าเดิม มาทดลองใหม่ค่า (millivolt) จะยังคงเดิมเสมอ เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Seebeck Effect ตามชื่อผู้ค้นพบ

นำ (Seebeck Effect)มาใช้ ทำหัววัดอุณหภูมิ เรียกว่า เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ได้ ซึ่งโลหะต่างชนิดแต่ละคุ่จะให้ค่า (millivolt) เท่าเดิมที่อุณหภูมิเดิม จึงสามารถเรียกใช้ค่าขอลวดโลหะต่างชนิดกันมาใช้วัดในช่วงอุณหภูมิต่างๆกัน จึง เกิดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) type K, J, R, S, T, E, N, ฯลฯ

      1. เทอร์โมคัปเปิลมีกี่ชนิด? อะไรบ้าง? (Type of Thermocouple)

เทอร์โมคัปเปิล (TC หรือ Thermocouple) มีหลายชนิด แต่ละชนิดทำจากลวดโลหะคนละประเภท ต่างกันจึงมีช่วงวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกันด้วย ดังในตารางแสดงค่าความต่างศักดิ์ของเทอร์โมคัปเปิลชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

ตารางแสดงชนิดของโลหะ มาตรฐาน ช่วงอุณหภูมิ และค่าความคลาดเคลื่อนของเทอร์-โมคัปเปิลแบบต่างๆ

ชนิดชนิดลวดเทอร์โมคัปเปิลค่าความผิดพลาดตามมาตราฐานของclassช่วงวัดอุณหภูมิค่าความผิดพลาด
K NiCr - NiAI (NiCr - Ni)
นิกเกิลโครเมียม - นิกเกิลอลูมิเนียม
(นิกเกิลโครเนียม-นิกเกิล)

NiCrSi - NiSi
นิกเกิลโครเมียมซิลิกอน-นิกเกิล ซิลิกอน
IEC 60584 Part 2 1 -40 ... + 1000 °c ± 1.5 °c
2 -40 ... + 1200 °c ± 2.5 °c
N ASTM E230 Special 0 ... + 1260 °c ± 1.1 °c
Standard 0 ... + 1260 °c ± 2.2 °c
J Fe - CuNi
ไอรอน - คอปเปอร์นิกเกิล
IEC 60584 Part 2 1 -40 ... + 750 °c ± 1.5 °c
2 -40 ... + 750 °c ± 2.5 °c
ASTM E230 Special -40 ... + 760 °c ± 1.1 °c
Standard -40 ... + 760 °c ± 2.2 °c
E NiCr - CuNi
นิกเกิลโครเมียม - คอปเปอร์นิกเกิล
IEC 60584 Part 2 1 -40 ... + 800 °c ± 1.5 °c
2 -40 ... + 900 °c ± 2.5 °c
ASTM E230 Special -40 ... + 870 °c ± 1.0 °c
Standard -40 ... + 870 °c ± 1.7 °c
T Cu - CuNi
คอปเปอร์ - คอปเปอร์นิกเกิล
IEC 60584 Part 2 1 -40 ... + 350 °c ± 0.5 °c
2 -40 ... + 350 °c ± 1.0 °c
3 -200 ...+ 40 °c ± 1.0 °c
ASTM E230 Special 0 ...+ 370 °c ± 0.5 °c
Standard -200 .... 0 °c ± 1.0 °c
Standard 0 ...+ 370 °c ± 1.0 °c
R Pt13% Rh - Pt
แพลทินัม 13% โรเดียม - แพลทินัม
Pt10% Rh - Pt
แพลทินัม 10% โรเดียม - แพลทินัม
IEC 60584 Part 2 1 0 ... + 1600 °c ± 1.0 °c
2 0 ... + 1600 °c ± 1.5 °c
S ASTM E230 Special 0 ... + 1480 °c ± 0.6 °c
Standard 0 ... + 1480 °c ± 1.5 °c
B Pt30% Rh - Pt6% Rh
แพลทินัม 30%โรเดียม - แพลทินัม 6%โรเดียม
IEC 60584 Part 2 2 600 ... +1700 °c ± 0.0025 • |t|
3 600 ... +1700 °c ± 4.0 °c
ASTM E230 Special - -
Standard 870 ... +1700 °c ± 0.5 %

** หมายเหตุ

        1. มาตรฐาน ASTM E230 จะแบ่ง Class โดยการเรียกว่า Class Special กับ Class Standard
        2. มาตรฐาน IEC 60584 part 2 แบ่งเป็น Class 1 และ Class 2 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมาก
        3. เทอร์โมคัปเปิลที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไปเป็น Class 2 หรือ Class Standard
      1. หัววัดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) รูปร่างเป็นอย่างไร?

มีรูปร่างมากมาย เพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ติดตั้ง

Thermocouple2
      1. โครงสร้างภายในของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)
tctgtable-4a
tctgtable-5a
tctgtable-4b
tctgtable-4b

โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ประกอบด้วย

        • ท่อป้องกันลวดเทอร์โมคัปเปิล (Protection Tube or Sheath)
          • ท่อสแตนเลส 304 และ สแตนเลส 316 ซึ่งสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 850 °c ทนต่อการกัดกร่อนจากตัวกลางซึ่งมีแรงดันได้ดี เช่น ไอน้ำ และเชื้อเพลิงเหลวจากกลุ่มสารเคมี
          • ท่ออินโดเนลเหมาะสำหรับใช้อุณหภูมิสูงๆ เกิน 600 °c-1100°c
          • ท่อเซรามิก เหมาะสำหรับใช้อุณหภูมิสูงๆ
        • เซลามิกสำหรับสอดลวดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)
        • ลวดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple wire)
        • หัวต่อสายเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple Terminal)
        • สายต่อลวดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple extension wire)
      1. คลาสเทอร์โมคัปเปิล (Class of Thermocouple) มีกี่คลาส?

เทอร์โมคัปเปิลมี 2 Class ตามมาตรฐาน IEC 60584 นั่นคือ

        • Class 1 มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า
        • Class 2 มีค่าความคลาดเคลื่อนสูงกว่า
      1. ทำไมถึงต้องสอบเทียบค่าความผิดพลาดของ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple Calibration)

ไม่มีตัววัดใดที่มีค่าเที่ยงตรงตลอดอายุการใช้งาน จึงต้องมีการสอบเทียบโดยจะตรวจดูค่าวัดที่ผิดพลาดจากค่ามาตรฐาน ตรวจค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) ตรวจค่าความผิดพลาดโดยการตรวจซ้ำหลายๆครั้ง (Repeatirity)

RTD (Resistance Temperature Detectors)

      1. RTD Pt 100 คืออะไร?

RTD ย่อมาจาก Resistance Temperature Detectors ซึ่งคือ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งให้ค่าการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูงกว่าเทอร์โมคัปเปิลใช้ในการวัดช่วงอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง

Pt 100 คือ หัววัดอุณหภูมิที่ทำมาจาก แพลทินั่ม (Platinum) โดยให้ลวดแพลตินัมที่อุณหภูมิ 0 °C จะมีค่าความต้านทาน 100(โอมห์; Ω)

pt100-graph
รูป กราฟ ค่าความต้านทานที่อุณหภูมิต่างๆของ RTDPt 100
      1. Pt100 มีกี่ชนิด

Pt 100 มี3 ชนิดคือ

        • Pt 100 แบบฟิล์ม (Platinum Thin Film RTD element) ทำจากฟิล์มบางๆ โดยมีเส้นแพลตินั่มบางๆติดบนฟิล์มเป็นรูปขดลวดกลังไปมาดังรูป
thinfilms
        • Pt 100 แบบพันรอบแกน (Platinum Wire-Wound RTD element (Glass))
Glass
        • Pt 100 แบบคอยด์แพลทินั่ม (Platinum Coiled RTD element (Ceramic))
ceramic
      1. Pt100 มีกี่ Class?

Class ของ RTDPt 100 มีดังนี้

        1. ClassAA ความแม่นยำในการวัด ± (0.10+0.0017* |t|)°C
        2. ClassA ความแม่นยำในการวัด ± (0.15 +0.0020* |t|)°C
        3. ClassB ความแม่นยำในการวัด ± (0.30+0.0050 * |t|)°C
        4. ClassC ความแม่นยำในการวัด ± (0.60+0.0100 *|t|)°C

* หมายเหตุ |t| คือ อุณหภูมิใดๆ ที่จะเป็นค่าบวกเสมอ เช่น |-200| จะเท่ากับ 200 °C หรือ|+200| จะเท่ากับ 200°C

นอกจากClassที่กล่าวไปข้างต้นยังมี Class ที่แยกตามมาตรฐานต่างๆ ดังนี้

        • ASTM E-1137 Class B = ± .10% @ 0°C (32°F)
        • ASTM E-1137 Class A = ± .05% @ 0°C (32°F)
        • DIN 43760 Class B = ± .12% @ 0°C (32°F)
        • DIN 43760 Class A = ± .06% @ 0°C (32°F)

เทอร์โมคัปเปิล

อุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว นำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง หากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง โดยเรียกอุณหภูมิคงที่ที่ใช้อ้างอิงนี้ว่า Reference Junction และได้มีการกำหนด Reference Junction ให้เป็น 0˚C คือโลหะ 2 ชนิดต่างกันที่นำมาเชื่อมปลายเข้าด้วยกันที่ด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านที่ใช้วัดอุณหภูมิ ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับอุปกรณ์ใช้งานเช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ, เครื่องบันทึกอุณหภูมิ เป็นต้น

เทอร์โมคัปเปิล ถูกแบ่งออกเป็น Type ต่างๆ เป็นชนิดหัววัด เช่น เทอร์โมคัปเปิล type k (Thermocouple Type k), PT100 เป็นต้น ตามการจับคู่ของโลหะที่แตกต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติในการใช้งานเทอร์โมคัปเปิลเลือกใช้ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับงานนั้นๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีหลายข้อ เช่น ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน, ราคา, ความกัดกร่อนของสารที่เทอร์โมคัปเปิลสัมผัส ให้เหมาะสมของงานแต่ละประเภท สุพรีมไลนส์ (Supremelines) จำหน่ายเทอร์โมคับเปิล ตามจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน โดยแบ่งประเภทของเทอร์โมคัปเปิลตามลักษณะการใช้งานได้ดังต่อไปนี้

1. เทอร์โมคัปเปิลที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิอากาศ และของเหลวทั่วไป

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple1

2. เทอร์โมคัปเปิล แบบใช้เขี้ยวล็อค ยึดจับกับชิ้นงาน หรือผนังตู้

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple2

3. เทอร์โมคัปเปิลวัดอุณหภูมิ โดยขันสกรูยึดติดกับพื้นผิว

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple3

4. เทอร์โมคัปเปิลแบบหางปลากลม ใช้ขันยึดติดกับชิ้นงาน

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple4

5. เทอร์โมคัปเปิลใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในเตาอบ หรือเตาเผา

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple5

6. เทอร์โมคัปเปิลใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ ในเตาหลอม/ เตาหลอมอลูมิเนียม

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple6

7. เทอร์โมคัปเปิล ใช้วัดอุณหภูมิในท่อ โดยใช้รัดท่อลำเลียง

Thermocouple and RTD Sensor

thermocouple7
สอบถามข้อมูล
1000 characters left
ใส่ข้อความที่ต้องการสอบถาม เช่น ชื่อสินค้า ชื่อรุ่น ฯลฯ
เวลาทำการ จ. - ศ. เวลา 08.00 - 17.30 น.
หากได้รับข้อความแล้ว จนท. จะรีบติดต่อกลับในภายหลัง ขอบคุณค่ะ
สุพรีมไลนส์ (Supremelines) heaterฮีตเตอร์ HEATER
  • Location SUPREMELINES CO.,LTD

    ที่อยู่

    80, 82 ถนนพัฒนาการ
    แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

    เวลาทำการ

    วันจันทร์ - วันศุกร์ : 08.00 น. - 17.30 น.
  • Contact us

    ช่องทางการติดต่อ

    TEL : 02-722-2233, FAX : 02-722-2211
    Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
    Facebook : ฮีตเตอร์ Heater ฮีตเตอร์ราคาถูก
    ID Line@ : @supremelines
    Line@ : @supremelines